รายชื่อคณะกรรมการบริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร บ้านกลางเมืองพระราม 3 ราษฎร์บูรณะ
ชุดที่ 1 วาระ 12 มิถุนายน 2559 – 11 มิถุนายน 2561
1. นายสันติ สงวนทรัพย์ ตำแหน่ง ประธานหมู่บ้านนิติบุคคลฯ
2. นายธนภัทร บัวบูรณ์ ตำแหน่ง รองประธานหมู่บ้านนิติบุคคลฯ
3. นายวรพจน์ ปรีชาพีชคุปต์ ตำแหน่ง รองประธานหมู่บ้านนิติบุคคล
4. น.ส.จิราภรณ์ จงมั่นคงชีพ ตำแหน่ง คณะกรรมการนิติบุคคลฯ
5. น.ส.วิไลพร วิเศษสมภาคย์ ตำแหน่ง คณะกรรมการนิติบุคคลฯ
วิสัยทัศน์ : สร้างความยุติธรรม นำสิ่งดีมาพัฒนา เพื่อความก้าวหน้าและยั่งยืน
ภารกิจระยะยาว
1. สร้างกระบวนการสำหรับการบริหารงานนิติฯ ให้มีระบบ ระเบียบปฏิบัติที่ดี มีประสิทธิภาพ มีกระบวนการสอบทาน
2. สนับสนุนและเสริมสร้างบรรทัดฐานการอยู่ร่วมกันในชุมชนด้วยความเป็นธรรม เสมอภาค เป็นชุมชนที่น่าอยู่ ผู้คนมีสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม มีน้ำใจ ถ้อยทีถ้อยอาศัย รวมกันไว้ซึ่งความรักสามัคคี ดำรงค์ไว้ซึ่งแบบอย่างที่ดีงาม
3. ศึกษาและออกแบบในการปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคส่วนกลางที่สามารถทำได้ เพื่อการลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว (TCO)
4. หาช่องทางที่ก่อให้เกิดรายได้แก่นิติฯ เพื่อใช้เป็นกองทุนในการพัฒนาหมู่บ้าน
ภารกิจระยะสั้น
1. ศึกษาความคุ้มค่าในการปรับปรุงระบบไฟส่องสว่าง ทั้งในเรื่องโคมไฟ หลอดไฟ หรือการ Wiring สาย การจัดวงจร
2. วางรูปแบบการบริหารบัญชีให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของกรมสรรพากร เพื่อง่ายต่อการทำงานและการตรวจสอบ
3. จดโดเมน www.bkm-rbn44.com (Baan Klang Muang Ratburana 44) เพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูลสำหรับทุกคนในหมู่บ้าน
4. วางแผนรูปแบบกิจกรรมที่พึงมีประจำปีของหมู่บ้าน
เรื่องเร่งด่วน
1. ปรับปรุงโครงสร้างค่าใช้จ่าย (ที่ปรับเปลี่ยนได้ทันที) เพื่อลดรายจ่ายโดยรวมในการบริหารจัดการ และเรียกเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลางอย่างเป็นธรรม (มีหลายประเด็นในนี้ที่จะแตกย่อยเป็นเรื่องที่ต้องจัดการตามมา เช่นการว่าจ้างหาคนทำงานในหน้าที่ต่างๆ กิจกรรมหรือโครงการที่มีผลโดยตรงต่อการลดค่าใช้จ่าย เป็นต้น)
2. ประสานงานกับทางสมาร์ท ในเรื่องเกี่ยวกับการตรวจรับระบบสาธารณูปโภคกับทางเอพี
กิจกรรมที่ตั้งเป้า
1. การประชุมใหญ่วิสามัญก่อนที่ทางเอพีจะส่งมอบสาธารณูปโภคให้แก่นิติฯ เพื่อขอมติเปลี่ยนแปลงระเบียบการอยู่อาศัยฯ ร่วมกัน (เมื่อใดที่ทางเอพีทำการซ่อมแซมและส่งมอบงานต่างๆ ให้แก่นิติฯ แล้วนั้น เมื่อนั้นทางเอพีก็จะยุติการจ่ายเงินอุดหนุนเดือนละเจ็ดหมื่นกว่าบาทที่ใช้ในการบริหารจัดการหมู่บ้านอยู่ในแต่ละเดือนอยู่ ณ.เวลานี้ นั่นหมายความว่านิติฯ จะไม่มีเงินเพียงพอต่อการบริหารจัดการหมู่บ้าน จะมีวิกฤตเกิดขึ้นในการเงินที่ต้องใช้บริหารทั้งหมู่บ้าน)
2. การสรรหาที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญในการเตรียมการเพื่อการตรวจรับระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ในโครงการกับทางเอพี
3. Feasibility ในการศึกษาความคุ้มค่าในการจัดการเกี่ยวกับค่าไฟฟ้าส่องสว่าง (ไฟแสงจันทร์) ตามถนน
4. Feasibility ความเป็นไปได้ในการติดตั้งระบบสูบน้ำจากคลองด้านข้างเพื่อใช้ในการลดน้ำต้นไม้แทนการใช้น้ำประปา
5. ประเมินการจ้างและการปฏิบัติหน้าที่ของงานระบบรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน (เป็นค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ทั้งหมดของค่าใช้จ่ายโดยรวมของทุกหมวดหมู่) เพื่อหาทางลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยในชิวิตและทรัพย์สินเป็นที่ตั้งด้วย
6. การว่าจ้างหาคนทำงานในตำแหน่งงานคนสวน คนทำความสะอาดถนน คนดูแลสโมสร
7. การคิด ออกแบบและตกแต่งสโมสรให้เป็นพื้นที่ใช้สอยที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เพื่อใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ในช่วงวันหยุดเสาร์ อาทิตย์
8. การทำกิจกรรมส่วนรวมร่วมกันบริเวณสโมสรช่วงวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ เช่นการทำขนมต่างๆ เช่น ขนมเค้ก วุ้น ขนมไทยอื่นๆ การทำงานฝีมือ การสอนหนังสือหรือติวคณิตศาสตร์หรือการบ้านให้กับเด็กๆ เป็นต้น
9. ประสานงานทั้งกับสมาร์ทและเอพีให้ได้มาซึ่งข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญและจำเป็นต้องมีไว้แก่นิติฯ เช่น แบบแปลนต่างๆ ของสโมสรหรือจุดอื่นๆ แบบวงจรไฟฟ้า แบบระบบ CCTV แบบวงจรปิดเปิดประตู ระบบ Easy Pass เปิดไม้กั้น เป็นต้น
10. โครงการหาบริษัทรับกำจัดและป้องกันปลวก ที่เป็นการรวมจำนวนบ้านหลายๆ หลังเข้าด้วยกัน เพื่อให้ทุกบ้านได้มีการกำจัดหรือป้องกันปลวกได้ที่ราคาถูกลง
11. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เรื่องการจอดรถให้เป็นไปตามกฎระเบียบหมู่บ้าน เช่น ไม่จอดในจุดขาวแดงหรือพื้นที่กลับรถ การจอดรถในพื้นที่บริเวณบ้านของตัวเอง ทั้งนี้ทั้งนั้นสาระสำคัญคือเพื่อให้เพื่อนบ้านสามารถใช้ถนนได้อย่างสะดวกได้ตลอดเวลา อันเป็นการป้องกันในเรื่องความขัดแย้งที่พึงเกิดขึ้นได้ด้วย
12. การตั้งทีมงาน นิติบริการ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายหรือการซ่อมแซมอะไรต่างๆ ของแต่ละบ้าน ในงานที่พอทำได้ เช่น ซ่อมไฟฟ้า ซ่อมระบบน้ำประปา หรือการตกแต่งบ้าน เป็นต้น อันเป็นจุดเริ่มต้นของงาน “จิตอาสา”